รีวิวโบรกเกอร์ Fbs พร้อมข้อดี-ข้อเสีย ก่อนตัดสินใจ



fbs 
สำหรับตัว Fbs เป็นหนึ่งในโบรกเกอร์ที่เหล่านักเทรด Forex จะรู้จัก ซึ่งตามข้อมูลที่ทางเว็บไซต์ของ Fbs แจ้งเอาไว้ จะบอกถึงความพิเศษในตัวเองว่าเป็นโบรกเกอร์ที่ดีที่สุด และแน่นอนว่าเป็นเรื่องปกติที่การเราก็ต้องพูดให้ตัวเองดูดีไว้ก่อน ทำให้หลายคนที่เป็นมือใหม่ให้ความสนใจ ด้วยเพราะค่า Spread ที่ต่ำ ทำให้คนกลุ่มนี้มุ่งจุดสนใจไปที่ค่านี้เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามสำหรับ Fbs ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่จะต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนตัวเองจะเสียผลประโยชน์



คุณสมบัติที่ทางโบรกเกอร์ได้อธิบายถึงความน่าเชื่อถือของตัวเองเอาไว้นั้น จะพูดกันตั้งแต่ประสบการณ์ทำงานมาตั้งแต่ในปี 2009 และก้าวมาเป็นโบรกเกอร์แนวหน้า มีการได้รับรางวัลมากมาย ซึ่งด้วยส่วนนี้เองทำให้ที่นี่เป็นโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือในหลายๆ ด้าน มีการมอบโบนัสให้กับผู้ที่เปิดบัญชีเงินฝาก 100 เปอร์เซ็นต์ มีการช่วยเหลือให้สามารถทำธุรกรรมการฝากหรือถอนเงินผ่านระบบชำระเงินที่ง่ายและสะดวกสบาย มีกิจกรรมและโปรโมชั่นมาคอยเอาใจลูกค้าอยู่ตลอด อีกทั้งยังมีซัพพอร์ตคนไทยสำหรับคนที่ไม่สันทัดเรื่องภาษาอังกฤษ เหล่านี้จึงเป็นจุดเด่นของ Fbs ชวนดึงดูดนักลงทุนให้กล้าเข้ามาเปิดบัญชี

สำหรับโบรกเกอร์ที่นี่ ได้มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย International Financial Services Commission (IFSC) และ Centre for Regulation in OTC Financial Instruments and Technologies (CRFIN) เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นกับนักลงทุน เริ่มเทรดขั้นต่ำได้ตั้งแต่ 1$ มีจุดแข็งที่กล้าออกมาบอกเลยว่าไม่มีค่า Spreads ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตามมาในภายหลังที่ตัดสินใจเปิดบัญชีแล้วหรือไม่ เพราะจากที่ได้ยินมา คือจะมีค่า Spreads อยู่ด้วย 

แต่มีค่าที่ต่ำกว่าทาง Xm เล็กน้อย มี Leverage ให้สูงสุดที่ 1 : 2000 แต่อย่างไรก็ตามด้วยค่าเปอร์เซ็นต์ที่สูงในระดับนี้ก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย สำหรับระบบการเปิดบัญชียืนยันว่าให้ความปลอดภัยสูง โปรโมชั่นต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงระยะเวลา แต่ที่นี่จะมีโปรชั่นเยอะมากล้นหลามมาดึงดูดลูกค้ากันอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะโปรโมชั่นประกันเงินฝากในกรณีที่เทรดเสีย มีการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัลกันแบบรายเดือน และอีกเพียบที่สามารถเข้าไปเช็คข้อมูลกันได้ตัวเองผ่านทางเว็บไซต์โดยตรง



พูดถึงข้อดีปนๆ กับจุดด้อยที่ต้องระวังความเสี่ยงกันไปเล็กน้อย มาพูดถึงส่วนของข้อเสียที่ชัดเจนกันหน่อย ซึ่งสำหรับ Fbs แม้จะเป็นโบรกเกอร์ที่ดูน่าใช้งานด้วยข้อมูลอันแสนดึงดูดข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามที่นี่ไม่มีบัญชี PAMM ไม่มีเว็บสำหรับการเทรด ส่วนการถอนเงินจะต้องใช้เวลา ไม่มีการถอนแบบอัตโนมัติ ซึ่งต้องรอเวลาเกือบ 24 ชั่วโมงเป็นหลัก ได้ช้าเร็วแตกต่างกันไป 

แม้จะมีการฝากถอนได้หลากหลายช่องทางก็ตาม  ในช่วงหลังมานี้ก็เห็นว่าเริ่มมีการปรับปรุงระบบให้การถอนเงินเร็วขึ้นจากเดิมเพื่อเอาใจเหล่าเทรดเดอร์ แต่จะไปเน้นเอาใจกลุ่ม Vip ที่มีการเทรดและฝากเงินเยอะเป็นหลัก ใช้เวลาไม่ถึง 30 นาทีเท่านั้น
อย่างไรก็ตามสำหรับโบรกเกอร์ Fbs นี้บางช่วงจะมีกราฟราคาที่ขึ้นมาแบบผิดปกติ หากพบก็ต้องควรแจ้งไปทางซัพพอร์ตเพื่อขอการเคลม อย่าใช้ความน่าสนใจจากโปรโมชั่นมาล่อใจเราได้ เพราะทางที่ดีก็ควรดูที่ความเสถียรของ Server ซึ่งที่นี่มักจะเกิดปัญหาล่มบ่อยๆ ก่อนตัดสินใจก็อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้แน่นเสียก่อนที่ตัวเองจะเสียผลประโยชน์เอาได้นะคะ

พื้นฐานของการเทรด forex ที่นักลงทุนมือใหม่ไม่ควรพลาด



สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่มีความต้องการอยากเทรด forex แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร คือต้องมีคุณสมบัติอะไรที่จะสามารถเทรดได้อย่างถูกวิธี และลดความเสี่ยงได้ ในบทความนี้เราจึงนำความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการเป็นนักลงทุนที่ดี และมีคุณภาพมาแบ่งปัน ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยดีกว่าคะ

·       เรียนรู้พื้นฐานของการเทรด
แน่นอนว่านักลงทุนมือใหม่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเทรด forex ให้ดี และมีความเข้าใจอย่าละเอียด เพื่อที่จะสามารถเทรดได้อย่างสบาย และสามารถทำกำไรได้อย่างสูงๆ เพราะการเรียนรู้เรื่องราวพื้นฐานของการเทรดนั้น จะทำให้เราสามารถจับแนวโน้มของการเทรดได้อย่างง่ายดาย ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยวิเคราะห์ได้

·       การมีประสบการณ์ลงทุน จะทำให้คุณได้เปรียบ
นักลงทุนที่ชอบมาเทรด forex แล้วได้กำไรสูงๆนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เทรดด้วยเงินจำนวนมาก แต่เทรดด้วยประสบการณ์ที่เคยเทรดมานั่นเอง เพราะยิ่งเทรดบ่อยๆ เทรดนานๆ จะทำให้เริ่มคุ้นเคย และจับทิศทางของแนวโน้มได้ จึงไม่แปลกที่คนเคยเทรดมาก่อน มักจะไม่ค่อยประสบปัญหาในการเทรด เพราะผ่านประสบการณ์มาแล้วมากมาย

·       ไม่ควรเชื่อคนอื่นมากเกินไป โดยเฉพาะข่าวลวง
ปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเทรด forex นั้น เป็นที่นิยมอย่างมาก ทำให้มีเทรดเดอร์หลายคนหันมาเป็นผู้ปรึกษา กลาย เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเทรด แต่สิ่งที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรทราบไว้ก็คือ คนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงและไม่จริง ส่วนใหญ่จะได้กำไรที่น้อยหรือเทรดล้มเหลว และจะมาหาเงินจากการสอนคนอื่นแทน เราจึงจำเป็นจะต้องสามารถวิเคราะห์ได้เอง

·       รู้จักการวิเคราะห์ด้วยตนเอง
เพราะการเทรด forex นั้น เราไม่ควรเชื่อคนอื่นมากเกินไป ดังนั้นเราจึงควรที่จะรู้จักวิเคราะห์กราฟด้วยตนเอง เพราะจะทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น ได้เรียนรู้การเทรดมาขึ้น  และสามารถแก้ปัญหาเมื่อรู้ว่าการเทรดของตนเองเริ่มแย่แล้วด้วย ในบางครั้งข้อมูลที่ได้ ก็เป็นเพียงข่าวลวง ทำให้มือใหม่กลายเป็นน้องเม่าบินเข้ากองไฟ ได้ง่ายๆ


ซึ่งพื้นฐานของการเทรด forex ที่นักลงทุนควรมีติดตัวนั้น จะเป็นตัวช่วยผลักดันให้สามารถประสบผลสำเร็จในอนาคต และยังช่วยให้มีความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม และแน่นอนว่ากำไรที่ได้จากการเทรดก็ย่อมจะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ในการลงทุน ทั้งนี้มือใหม่ควรใช้เงินที่สามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ด้วยคะ

สาเหตุที่ทำให้การเทรด forex ล้มเหลวและเป็นปัญหาของเหล่านักลงทุน



หลังจากที่ทราบเหตุผลในการเทรด forex และการเทรดแบบให้ประสบผลสำเร็จไปแล้ว แน่นอนว่าสำหรับบางคนก็มักจะประสบปัญหาและเทรดล้มเหลวได้ ซึ่งหากทราบสาเหตุที่ทำให้เราล้มเหลวแล้ว จะช่วยให้สามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาการเทรดล้มเหลวได้ เราจึงนำสาเหตุที่คนส่วนใหญ่ลงทุนแล้วล้มเหลวมาแบ่งปัน ดังนี้

·     LEVERAGE สูงเกินไป
การเทรด forex ที่ส่วนใหญ่ล้มเหลวนั้น  เป็นเพราะว่า LEVERAGE สูงเกินไป เพราะดูจากที่โบรกเกอร์ให้ LEVERAGE  กับลูกค้านั้น  เมื่อเราเทรดได้กำไร กำไรก็จะเยอะได้เงินจำนวนมาก ทำให้นักลงทุนอยากเทรดด้วยจำนวนเงินที่มากขึ้นเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้นเช่นกัน แต่ในทางกลับกันหากเทรดผิดไม่ได้กำไร ก็จะเสียเงินเยอะเช่นกัน เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง

·      มี TIMEFRAME เล็กเกินไป
นักลงทุนส่วนใหญ่ที่มาเทรด forexนั้น ก็เพราะว่าอยากมีเงินเร็วทันใจ อยากรวยเร็วก็เลยเทรดด้วยจำนวนเงินที่มากๆ และตามเก็บทุกเม็ด โดยจะเทรดทุกกราฟ แต่เพราะว่ากราฟมันเล็กเกินไป เลยอาจจะทำให้ตลาดขัดข้องได้ ที่เรียกว่า MARKET NOISE ที่จะทำให้บัญชีของคุณขัดข้องอยู่บ่อยๆ และจะไม่สามารถเห็นแนวโน้มราคาระยะยาวได้นั่นเอง 

·   ไม่มีวางแผนก่อนทำการเทรด
การเทรด forex แบบไม่มีการวางแผนก่อนนั้น จะทำให้ไม่รู้ว่าทุกครั้งที่เทรดเรามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เพราะอย่างที่บอกว่า ทุกๆ รอบอัตราต่างๆ จะแปรผันได้ตลอด ดังนั้นหากไม่อยากให้การลงทุแต่ละครั้งล้มเหลว นักลงทุนจึงจำเป็นต้องวางแผนและทำงานก่อนเทรดอยู่เสมอ โดยทำการบ้านศึกษาหาข้อมูลในการลงทุนนั้นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน

· ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเทรด
สาเหตุสุดท้ายที่ทำให้การเทรด forex ล้มเหลว นั่นก็คือการไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเทรดเลย จะทำให้เรารู้สึกว่าหูหนวกตาบอดไปทันที จะกลายเป็นการพนันแทนการลงทุน เพราะไม่ได้ใช้ความรู้ความเข้าใจ แต่เป็นการเสี่ยงโชคล้วนๆ ซึ่งทำให้ไม่รู้ว่าตอนนี้ที่กำลังเทรดอยู่อยู่ภาวะเสียงหรือได้กำไร และในที่สุดก็จะทำให้เจ๊งได้

เมื่อทราบสาเหตุที่ทำให้การเทรด forex ล้มเหลวแล้วนั้น สิ่งที่นักลงทุนหรือเทรดเดอร์ทุกคนไม่ควรขาดเลยก็คือสติและสมาธิเพราะ เพราะหากเกิดปัญหาแบบประทันหันกับบัญชีของเราเอง จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านั้นๆ ไปได้อย่างง่ายดาย ลองนำวิธีเหล่านี้ไปประยุกต์ใช่ประกอบการลงทุนคะ

คู่มือการใช้งาน MetaTrader 4 (MT4)

เริ่มต้น MetaTrader 4
หากลูกค้ายังไม่เข้าใจพื้นฐานการเทรด Forex เบื้องต้น สามารถเข้าไปอ่านได้ที่บทความ สำหรับผู้เริ่มต้นเทรด Forex

โปรแกรม  MetaTrader 4 (MT4)
สามารถเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ http://th.fxclearing.com/download-mt4

การ Log in
1) คลิกที่เมนู File -> Login to Trade Account ดังรูป



2) ใส่หมายเลขบัญชีและรหัสผ่านลงไป ตรงช่อง Server ถ้าเป็นบัญชีเทรดจริงให้เลือกเป็น FxClearing-Main2 ถ้าเป็นบัญชีทดลองให้เลือกเป็น FxClearing-Demo
**หากใส่รหัสผ่านด้วยรหัส Investor จะสามารถดูรายละเอียดบัญชีได้อย่างเดียว แต่ท่านจะไม่สามารถเปิดออเดอร์ได้**


3) ถ้า Log in ผ่านเรียบร้อยแล้ว ตรงมุมล่างขวาจะแสดงตัวเลขดังรูป ตัวเลขทั้ง 2 ตัวแสดงปริมาณข้อมูลที่ดาวน์โหลดและอัพโหลด ถ้า Log in ไม่ผ่านจะแสดงคำว่า No Connection หรือ Invalid Account หรือข้อความ Error อื่นๆ


การเปลี่ยนรหัสผ่าน
1) เข้าไปที่เมนู Tools -> Options


2) คลิกที่แท็บ Server และกดปุ่ม Change


3) ที่ช่อง Current password ให้ใส่รหัสผ่านปัจจุบัน, ช่อง New password ใส่รหัสผ่านที่ต้องการเปลี่ยน (รหัสผ่านจะต้องมีความยาวอย่างน้อย 5 ตัว และ 2 ใน 3 จะต้องมีตัวอักษรตัวเล็ก, ตัวใหญ่, และตัวเลขรวมอยู่ด้วย), ช่อง Confirm ใส่รหัสผ่านใหม่ยืนยันอีกครั้ง เสร็จแล้วกด OK


การเปิดกราฟ
1) กดเครื่องหมายบวกที่อยู่ด้านบนซ้ายและเลือกสกุลเงินที่ต้องการ


ถ้าไม่เจอคู่เงินที่ต้องการ ให้เข้าไปคลิกขวาที่หน้าต่าง Market Watch และเลือกที่ Show All


2) กราฟของสกุลเงินจะแสดงขึ้นมาดังรูป เวลาในกราฟจะเป็นเวลาที่ Server ของ FXClearing


3) สามารถปรับแต่งรูปแบบของกราฟ เช่น สี, ประเภทของกราฟ, เส้นต่างๆ โดยคลิกขวาที่กราฟและเลือก Properties หรือกด F8


4) ที่แท็บ Colors สามารถเปลี่ยนสีของกราฟได้


5) ที่แท็บ Common สามารถเปลี่ยนรูปแบบของกราฟรวมถึงให้แสดงหรือซ่อนเส้นต่างๆได้


Toolbar
ที่ Toolbar ก็จะมีไอคอนต่างๆให้ใช้งานดังนี้ (เรียงลำดับตามกรอบสีแดงที่วงไว้จากบนลงล่าง)



1) ให้แสดงหรือซ่อนหน้าต่างดังนี้
1.1) Market Watch - หน้าต่างดูราคาของสกุลเงินคู่ต่างๆแบบเรียลไทม์


1.2) Data Window - หน้าต่างดูข้อมูลราคาเปิด, ปิด, สูงสุด, ต่ำสุด, Volume ของกราฟ ให้นำเมาส์ไปวางไว้ที่ตำแหน่งที่ต้องการดูรายละเอียดในกราฟ


1.3) Navigator - หน้าต่างแสดงรายชื่อ, Indicator, EA, Script


1.4) Terminal - หน้าต่างแสดงออเดอร์ที่กำลังเปิดอยู่, ประวัติการเทรด, Mailbox, Log ของ EA, รายละเอียดการ Log in รวมถึง Error ต่างๆ


1.5) Strategy Tester - หน้าต่างไว้สำหรับการเทส EA


2) ปุ่มเปิดออเดอร์ซื้อขาย
3) ปุ่มเปิด MetaEditor (ใช้เขียน EA) และปุ่มเปิด/ปิดการใช้งาน EA
4) ปุ่มแสดงรูปแบบกราฟเป็นแบบแท่ง, แท่งเทียน, เส้น
5) ปุ่มย่อ/ขยายกราฟ
6) ปุ่ม Auto Scroll ให้กราฟขยับไปทางซ้ายเรื่อยๆเมื่อราคามีการอัพเดท และปุ่ม Chart Shift คือให้กราฟขยับเลื่อนไปทางด้านซ้าย
7) ปุ่ม Indicator ไว้เพิ่ม Indicator ในกราฟ, ปุ่ม Period ไว้เลือกช่วงเวลา (Timeframe) ต่างๆ, ปุ่ม Templates ไว้เซฟรูปแบบกราฟเก็บไว้
8) ปุ่มเลือกรูปแบบเมาส์เป็น Cursor หรือ Crosshair เพื่อแสดงในกราฟ
9) เอาไว้ลากเส้น, เขียนข้อความต่างๆบนกราฟ, และ Indicator Fibonacci
10) เลือกช่วงเวลา (Timeframe) ต่างๆ

การเพิ่ม Indicator
1) คลิกที่ปุ่ม Indicators ทางด้านบนและเลือก Indicator ที่ต้องการเพิ่ม


2) เสร็จแล้วจะมีหน้าต่างเพื่อเซตค่าต่างๆสำหรับ Indicator ตัวอย่างแสดงการเพิ่ม Moving Average


3) Indicator ก็จะแสดงในกราฟดังรูป


4) ถ้าต้องการแก้ค่าต่างๆของ Indicator ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Indicator ก็จะมีหน้าต่างเซตค่าต่างๆแสดงขึ้นมาเหมือนในข้อที่ 2

5) ถ้าต้องการลบ ให้กด Ctrl + i จะแสดงรายชื่อ Indicator ทั้งหมดที่อยู่ในกราฟ ให้คลิกชื่อ Indicator ที่ต้องการลบ แล้วกด Delete


6) สามารถลง Indicator อื่นๆเพิ่มเติมได้โดยให้เข้าไปที่เมนู File -> Open data folder แล้วนำไฟล์ Indicator (ไฟล์นามสกุล mq4 หรือ ex4)  ใส่ไว้ที่โฟลเดอร์ MQL4 -> Indicators เสร็จแล้ว Restart MT4, ทำตามข้อ 1 ก็จะเห็นชื่อ Indicator ที่เพิ่มไว้อยู่ในหัวข้อ Custom

การเปิด/ปิดออเดอร์
1) กดปุ่ม New Order บน Toolbar หรือกดปุ่ม F9 (ถ้าท่าน Log in โดยใช้ Investor Password ท่านจะไม่สามารถกดปุ่มนี้ได้, Investor Password จะใช้สำหรับให้คนอื่นดูผลการเทรดเท่านั้น ไม่สามารถทำการเทรดได้)


2) จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาดังรูป


2.1) Symbol - คู่สกุลเงินที่ต้องการซื้อขาย
2.2) Volume - จำนวน Lot ที่ต้องการเทรด
2.3) Stop Loss - ราคาที่จะให้ปิดออเดอร์อัตโนมัติเมื่อขาดทุน
2.4) Take Profit - ราคาที่จะให้ปิดออเดอร์อัตโนมัติเมื่อกำไร
2.5) Comment - สามารถใส่ Comment สำหรับออเดอร์ที่จะเปิด
2.6) Type - Instant Execution / Market Execution คือเปิดออเดอร์ทันที, Pending Order คือเปิดออเดอร์แบบ Pending (รอให้ราคามาถึงจุดที่เราต้องการถึงจะทำการเปิดออเดอร์)
2.7) Sell - เปิดออเดอร์ขาย
2.8) Buy - เปิดออเดอร์ซื้อ
2.9) Enable maximum deviation from quoted price ใช้เพื่อป้องกันการเจอปัญหา Requote อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/note.php?note_id=220162991332652

3) ถ้าเลือกการเปิดออเดอร์เป็นแบบ Pending หน้าต่างจะเปลี่ยนเป็นดังรูป การเปิดออเดอร์เช่นนี้เป็นการตั้งเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ในกรณีที่ราคาที่เรา ต้องการซื้อหรือขายยังไม่เกิดขึ้น เมื่อราคาปัจจุบันมาถึงราคาที่เราตั้งไว้ ออเดอร์ก็จะเปิดให้อัตโนมัติ


ในส่วน Pending Order จะมีค่าต่างๆให้เลือกดังนี้
3.1) Type - Buy Limit คือทำการซื้อเมื่อราคาปัจจุบันอยู่สูงกว่าราคาที่เราจะซื้อ, Sell Limit คือทำการขายเมื่อราคาปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าราคาที่เราจะขาย, Buy Stop คือทำการซื้อเมื่อราคาปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าราคาที่เราจะซื้อ, Sell Stop คือทำการขายเมื่อราคาปัจจุบันอยู่สูงกว่าราคาที่เราจะขาย
ตัวอย่าง
สมมติราคาปัจจุบันเป็น 1.0000 แล้วต้องการซื้อที่ 0.9xxx ให้ตั้งเป็น Buy Limit
สมมติราคาปัจจุบันเป็น 1.0000 แล้วต้องการซื้อที่ 1.0xxx ให้ตั้งเป็น Buy Stop
สมมติราคาปัจจุบันเป็น 1.0000 แล้วต้องการขายที่ 0.9xxx ให้ตั้งเป็น Sell Stop
สมมติราคาปัจจุบันเป็น 1.0000 แล้วต้องการขายที่ 1.0xxx ให้ตั้งเป็น Sell Limit

3.2) at price - ใส่ราคาที่เราต้องการซื้อขาย
3.3) Place - ทำการเปิดออเดอร์ Pending
3.4) Expiry - เวลาหมดอายุของออเดอร์ในกรณีที่ยังไม่มีการเปิดออเดอร์

4) ถ้าทำการเปิดออเดอร์แล้วจะเห็นรายละเอียดออเดอร์ที่หน้าต่าง Terminal ด้านล่างดังรูป


4.1) Order - หมายเลขออเดอร์
4.2) Time - เวลาที่ทำการเปิดออเดอร์ (เวลาใน Server)
4.3) Type - ประเภทออเดอร์ (ซื้อหรือขาย)
4.4) Size - จำนวน Volume (Lot)
4.5) Symbol - สกุลเงิน
4.6) Price - ราคาที่ทำการเปิดออเดอร์
4.7) S/L - ราคา Stop Loss (0 คือไม่ได้ทำการเซต)
4.8) T/P - ราคา Target Profit (0 คือไม่ได้ทำการเซต)
4.9) Price - ราคาปัจจุบัน
4.10) Commission - ค่าคอมมิชชั่น
4.11) Swap - ค่า Swap
4.12) Profit - กำไร/ขาดทุน
4.13) Balance - ยอดเงินที่ยังไม่รวมกำไรหรือขาดทุนของออเดอร์ที่กำลังเปิดอยู่
4.14) Equity - ยอดเงินที่รวมกำไรหรือขาดทุนของออเดอร์ที่กำลังเปิดอยู่
4.15) Margin - จำนวน Margin ทั้งหมดที่ใช้ไปในการเปิดออเดอร์
4.16) Free Margin - มีค่าเท่ากับ Equity - Margin
4.17) Margin Level - มีค่าเท่ากับ Equity / Margin * 100 เป็นอัตราส่วนระหว่าง Equity กับ Margin ยิ่งเยอะยิ่งดี ถ้าลดเหลือน้อยต่ำกว่าค่า Margin call level ตรงออเดอร์จะเป็นสีแดงเตือนขึ้นมาว่า Margin เหลือต่ำแล้ว ถ้า Margin level ต่ำกว่า Stop level ออเดอร์ก็จะถูกปิดให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งแต่ละบัญชีก็จะมีระดับ Margin call level และ Stop Level ที่แตกต่างกัน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://th.fxclearing.com/trading-terms จะอยู่ในส่วนของกฎ Margin Call ด้านล่าง

5) ถ้าต้องการปิดออเดอร์ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่รายละเอียดของออเดอร์ จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาดังรูป เลือก Type เป็น Instant Execution และกดปุ่ม Close เพื่อปิดออเดอร์


6) ถ้าต้องการแก้ไขออเดอร์ เช่น Stop Loss หรือ Target Profit ให้ดับเบิ้ลคลิกที่รายละเอียดของออเดอร์ จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาดังรูป เลือก Type เป็น Modify Order แก้ไขรายละเอียดดามต้องการ และกดปุ่ม Modify เพื่อแก้ไขออเดอร์


7) ถ้าทำการปิดออเดอร์แล้ว รายละเอียดออเดอร์ก็จะย้ายไปอยู่ในแท็บ Account History ดังรูป


7.1) Order - หมายเลขออเดอร์
7.2) Time - เวลาที่ทำการเปิดออเดอร์ (เวลาใน Server)
7.3) Type - ประเภทออเดอร์ (ซื้อหรือขาย)
7.4) Size - จำนวน Volume (Lot)
7.5) Symbol - สกุลเงิน
7.6) Price - ราคาที่ทำการเปิดออเดอร์
7.7) S/L - ราคา Stop Loss (0 คือไม่ได้ทำการเซต)
7.8) T/P - ราคา Target Profit (0 คือไม่ได้ทำการเซต)
7.9) Time - เวลาที่ทำการปิดออเดอร์ (เวลาใน Server)
7.10) Price - ราคาที่ทำการปิดออเดอร์
7.11) Commission - ค่าคอมมิชชั่น
7.12) Swap - ค่า Swap
7.13) Profit - กำไร/ขาดทุน

8) ที่แท็บ Account History สามารถคลิกขวาเพื่อเลือกออฟชั่นต่างๆได้ดังนี้


8.1) All History - ให้แสดงประวัติการเทรดทั้งหมด (โดย Default จะแสดงประวัติการเทรดของเดือนปัจจุบัน)
8.2) Last 3 Months - ให้แสดงประวัติการเทรดย้อนหลัง 3 เดือน
8.3) Last Month - ให้แสดงประวัติการเทรดของเดือนปัจจุบัน
8.4) Custom Period - สามารถเลือกช่วงเวลาที่จะให้แสดงประวัติการเทรดได้
8.5) Save as Report - คือการ Export ประวัติการเทรดออกมาเป็นไฟล์
8.5) Save as Detailed Report - คือการ Export ประวัติการเทรดแบบละเอียดออกมาเป็นไฟล์
8.6) Commissions - ให้แสดง/ซ่อนคอลัมน์ Commissions
8.7) Taxs - ให้แสดง/ซ่อนคอลัมน์ Taxs
8.8) Comments - ให้แสดง/ซ่อนคอลัมน์ Comments
8.9) Auto Arrange - จัดขนาดของคอลัมน์อัตโนมัติ
8.10) Grid - ให้แสดง/ซ่อนเส้นแบ่งคอลัมน์

9) ที่แท็บ Journal จะแสดงรายละเอียดคำสั่งที่เราทำการเทรดทั้งหมด รวมถึง Error ต่างๆ


การติดตั้งและรัน Expert Advisor (EA)
1) ให้เข้าไปที่เมนู File -> Open data folder แล้วใส่ไฟล์ EA ที่โฟลเดอร์ MQL4 -> Experts ส่วนไฟล์ Indicator ใส่ไว้ที่โฟลเดอร์ MQL4 -> Indicators

2) คลิกปุ่ม AutoTrading ใน Toolbar ให้เป็นสีเขียวดังรูป


3) จะเห็นชื่อ EA ที่หัวข้อ Expert Advisors ในหน้าต่าง Navigator ดังรูป ให้คลิกที่ชื่อ EA แล้วลากใส่ในกราฟ


4) จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาเพื่อตั้งค่าดังรูป


4.1) Only Long - ให้ EA เปิดออเดอร์ซื้อเท่านั้น
4.2) Only Short - ให้ EA เปิดออเดอร์ขายเท่านั้น
4.3) Long & Short - ให้ EA เปิดออเดอร์ทั้งซื้อและขาย
4.4) Enable alerts - เปิด/ปิดการแจ้งเตือน
4.5) Disable alert once hit - ปิดการแจ้งเตือนเมื่อมีการแจ้งเตือนครั้งแรกมาแล้ว
4.6) Allow live trading - ให้ EA เปิดออเดอร์ในบัญชีเทรดจริงได้หรือไม่
4.7) Ask manual confirmation - ถ้า EA ต้องการเปิดออเดอร์ ให้เราต้องทำการยืนยันอีกหรือไม่
4.8) Allow DLL imports - อนุญาตให้ EA มีการเรียกใช้ DLL หรือไม่
4.9) Confirm DLL function calls - ให้มีการยืนยันทุกครั้งเมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชั่นใน DLL หรือไม่
4.10) Allow import of external experts - อนุญาตให้มีการเรียกใช้ฟังก์ชั่นใน EA ตัวอื่นหรือไม่

โดยทั่วไปก็จะติ๊กที่ช่อง 4.3), 4.4), 4.6), 4.8), 4.10)

5) ที่แท็บ Inputs ก็จะเป็นการเซตค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ใช้ใน EA ซึ่ง EA แต่ละตัวก็จะมีการตั้งค่าที่แตกต่างกัน


6) ถ้าติดตั้งเสร็จเรียบร้อยก็จะแสดงชื่อ EA และรูปหน้ายิ้มอยู่ด้านบนขวามือของกราฟดังรูป